top of page

อาการปวดที่เกิดจากการวิ่ง (ตอนที่1)

🏃‍♂️เมื่อนักวิ่ง เอาแต่วิ่ง...การบาดเจ็บก็มักจะเกิดขึ้น เรามาดูการบาดเจ็บที่เกิดจากการวิ่งมีอะไรบ้าง??🏃‍♀️

(เกิน 7 บรรทัด แต่อ่านเถอะครับ อุตส่าห์เขียน😁)

การบาดเจ็บจากการวิ่ง (ตอนที่ 1)🏃‍♂️🏃‍♂️

➡️ITB syndrome🎯

เมื่อเทรนด์ของการวิ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันนี้ในเมืองไทย มีคนตื่นตัวในเรื่องของการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง การวิ่งมาราธอน ซึ่งในหนึ่งสัปดาห์โดยเฉลี่ยนักวิ่งมือสมัครเล่น หรือนักวิ่งทั่วๆไป จะให้เวลากับการวิ่งมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ และสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือหลายคนบาดเจ็บจากการวิ่ง หลายคนต้องการการเทรนนิ่งที่ดี การป้องกันการบาดเจ็บ หรือคนที่บาดเจ็บไปแล้วก็ต้องการการรักษาอย่างถูกต้อง

🏅โดยทั่วไปแล้วการบาดเจ็บจากการวิ่งมีดังนี้ 1. ITB syndrome 2. Plantar fasciitis 3. Achilles tendonitis 4. Shin Splint 5. Runner’s knee 6. Stress Fracture

ซึ่งวันนี้เรามาเริ่มต้นกันที่ ITB syndrome (iliotibial friction syndrome) Iliotibial เป็น fascia พิเศษสีขาวๆ เกาะจากกระดูกบริเวณเอวด้านนอก ไปกับกล้ามเนื้อ Gluteus Maximus กับ Tensor fascia latae ผ่านไปถึงกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งมักเกิดแรงเสียดทานเมื่อเราวิ่งแล้วมีการกระแทกของเท้ากับพื้นในช่วงงอเข่า 30 องศาจะมีแรงเสียดทานนี้มากที่สุด แรงเสียดทานนี้เมื่อเกิดซ้ำๆ ก็จะทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณนี้นั่นเอง

🕹สาเหตุของการเกิด ได้แก่ - การเคลื่อนไหวของที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเมื่อวิ่ง แล้วมีการหมุนข้อเข่า หรือปลายเท้าเข้าด้านใน - กล้ามเนื้อรอบสะโพกไม่แข็งแรง - กล้ามเนื้อ Quadriceps ด้านในไม่แข็งแรง - กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวไม่แข็งแรง - อุ้งเท้าแบน หรือสูงเกินไป - เพิ่มระยะทางในการวิ่งทันที - วิ่งระยะทางลาด เช่นวิ่งลงเขา - ความทนทานของกล้ามเนื้อยังไม่เพียงพอต่อการวิ่งระยะไกลเกินไป

🕹อาการของ ITB syndrome - ปวดแหลมๆหรือร้อนผ่าวๆบริเวณเหนือข้อเข่าด้านนอก - อาการมากขึ้นเมื่อวิ่งระยะไกลขึ้น - บวมบริเวณเหนือข้อเข่าด้านนอก - ปวดเมื่อเริ่มงอเข่าเล็กน้อย - หากมีอาการปวด หรือค่อยๆปวดเกิน 4 สัปดาห์มักจะเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ต้องเลิกออกกำลังกายด้วยการวิ่ง ดังนั้นต้องรีบดูแลแต่เนิ่นๆ

🕹การดูแลรักษา ITB โดยนักกายภาพบำบัด - ก่อนอื่นการวินิจฉัยว่าเป็น ITB syndrome จริงๆเป็นสิ่งสำคัญ นักกายภาพต้องแยกสมมติฐานอื่นๆออกให้หมด เช่นเกิดจากเส้นประสาทบริเวณขาอักเสบ หรือกระดูกสันหลังบริเวณเอวมีการ dysfunction หรือมีการบาดเจ็บที่เชิงกราน เป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยการตรวจและวิเคราะห์แยกปัญหาอย่างละเอียด - การลดการอักเสบของ ITB ด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด หรือใช้ความร้อน ความเย็น ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและอาการของโรคที่เกิดขึ้น - การเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว กล้ามสะโพก กล้ามเนื้อเข่า กล้ามเนื้อแข้งต่างๆ - การเพิ่มการตอบสนองของระบบประสาทตามข้อต่อต่างๆ - การเทรนให้กล้ามเนื้อยืดหดได้อย่างปกติ ไม่ยาว ไม่หดสั้นเกินไป - การยับยั้งหรือส่งเสริมกล้ามเนื้อที่ทำงานมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด - การฝึกบาลานซ์ของร่างกาย - การเทรนท่าวิ่งให้ถูกต้องเหมาะสม

หากอาการที่เกิดขึ้น ไม่สามารถรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด อาจจะต้องใช้วิธีการผ่าตัดบริเวณที่เป็นปัญหา และหลังจากได้รับการผ่าตัดเสร็จแล้ว การทำกายภาพบำบัดด้วยนักกายภาพก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องฟื้นฟูให้กลับมาใช้งานได้เป็นปกติมากที่สุด

bottom of page