ซีดีซี รามอินทรา I 101 ทรูดิจิทัลพาร์ค I เดอะสตรีท รัชดา I อมอรินี่ สวนสยาม I ที59 เวสต์เกต I เดอะไบรท์ พระราม2 I คาสเคด บางนา | มาร์เกตเพลส รังสิต I เดอะมอล์ไลฟสโตร์ ท่าพระ I ประดิพัทธ์ ซอย17 I โรบินสัน ฉะเชิงเทรา I ชลบุรี I จีทาวเวอร์ พระราม9 I ราชพฤกษ์345 I รัชโยธิน I ซีคอนแสควร์ | พญาไท ตึก CP tower 3 | The forth สาย 4 | กรุงเทพกรีฑา Nirvana PORCH
June, 09, 2018
อาการปวดต้นคอ ที่คิดว่ามาจากการ "ตกหมอน" จริงๆแล้วใช่หรือไม่?
คำตอบคือ "อาจจะไม่ใช่เสมอไป" อาการปวดคอหลังจากตื่นนอน บางทีอาจจะเกิดจากการสะสมจากการนั่งทำงานนานๆ เล่นมือถือ ซึ่งทำให้กระดูกสันหลังระดับคอและกล้ามเนื้อรอบๆทำงานหนักมากขึ้น จนทำให้มีการผิดรูป คด เบี้ยว เกิดขึ้นได้ ซึ่งเมื่อนิ่งๆของเสียต่างๆ เช่นกรดแล็คติค เกิดการสะสม ทำให้มีอาการปวดขึ้นมาหลังจากตื่นนอน ซึ่งอาจจะไม่ได้ตกหมอนแต่อย่างใด
ยิ่งไปกว่านั้นสาเหตุดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง ปวดบ่อยๆ หากไม่แก้ไขหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว อาจจะทำให้อาการปวดเพิ่มขึ้น รบกวนชีวิตประจำวัน เริ่มมีการปวดร้าวไปที่แขน หรือบางรายมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากเส้นประสาทถูกกดทับ
ตามรูป เคสตัวอย่างของการใช้คอมพิวเตอร์ และใช้มือถือเป็นเวลานานๆ ทำให้กล้ามเนื้อไม่สมดุลกันทั้งสองฝั่ง และมีการติด (stiffness) ของข้อต่อที่คอ ที่เรียกว่า facet joint ซึ่งเราใช้วิธีการขยับข้อต่อ Manual Physiotherapy ในการปรับรูปกระดูกสันหลังระดับคอ อาการปวดดีขึ้น 80% ในครั้งแรกที่ทำ
June, 09, 2018
ข้อไหล่ติด กับการรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด
ข้อไหล่ติด "Frozen Shoulder" มีทั้งหมด 3 stage
1. Freezing เป็นเฟสแรกของอาการข้อไหล่ติด ระยะนี้สิ่งที่สังเกตได้คืออาการปวดที่แขน อาจจะปวดมากตอนกลางคืน เวลายกแขนแล้วปวดมากขึ้น ระยะนี้จะสังเกตถึงอาการบวม แดงของหัวไหล่ ซึ่งต้องหลีกเลี่ยงการรักษาที่รุนแรง เช่นการนวด การกด การตอกเส้นหรืออะไรก็ตาม ซึ่งการรักษาที่รุนแรงนี้จะทำให้ข้อไหล่ยึดติดขึ้นไปอีก
2. Frozen เป็นช่วงที่ไหล่เริ่มมีการติด ยกแขนไม่ขึ้น อาการปวดอาจจะยังคงอยู่บ้าง หรือไม่ปวดเลย แต่แขนจะติดแน่นไม่สามารถยกหรือทำกิจวัตรประจำวันเช่น ยกแขนเพื่อตากผ้า หรือทำท่าขัดหลัง ติดตะขอชุดชั้นในได้
3. Thrawing เป็นช่วงที่การเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น อาการปวดมักจะลด
การรักษาทางกายภาพบัด
- การดัดข้อไหล่ ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และการใช้ biomechanics ของข้อไหล่ และเทคนิคการดัดดึงที่ถูกต้องเพื่อให้ข้อไหล่เพิ่มการเคลื่อนไหวได้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว
- ร่วมกับการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา เช่น อัลตราซาวด์ การกระตุ้นไฟฟ้า การประคบความร้อน เป็นต้น
สาเหตุของอาการข้อไหล่ติด
- การบาดเจ็บที่หัวไหล่
- การผ่าตัด
- ไม่ค่อยได้ขยับหัวไหล่
- เกิดการอักเสบของข้อไหล่โดยไม่ทราบสาเหตุ
- heper/hypo ไทรอยด์
- โรคทางภูมิคุ้มกัน
ไหล่ซ้ายติด VS หลังได้รับการรักษา 5 ครั้ง